เมนู

ภิกขุนีวรรคที่ 3 โอวาทสิกขาบทที่ 1


พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ 1 แห่งภิกชุนีวรรค* ดังต่อไปนี้.

[แก้อรรถ เรื่องภิกษุไม่ได้รับสมมติสั่งสอนนางภิกษุณี ]


ในคำว่า ลาภิโน โหนติ นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังนี้ นาง
ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อมไม่ถวายเอง ไม่ใช้ผู้อื่นให้ ถวายแก่พระเถระเหล่านั้น.
แต่พวกกุลธิดาผู้ออกบวชจากตระกูลใหญ่ ย่อมเจาะจงพระอสีติมหาสาวกว่า
พระเถระโน้นและโน้น ย่อมกล่าวสอน แล้วกล่าวสรรเสริญคุณ ที่มีอยู่. เช่นศีล
สุตะ อาจาระ ชาติ และโคตรเป็นต้น ของพระอสีติมหาสาวกเหล่านั้น ตาม
กระแสแห่งถ้อยคำของเหล่าญาติชนผู้มาสู่สำนักของตน ถามอยู่ว่า ข้าแต่แม่เจ้า
พวกท่านได้รับโอวาท อุเทศ ปริปุจฉา จากที่ไหน ร ดังนี้. จริงอยู่ คุณ
ที่มีอยู่เห็นปานนี้ ควรเพื่อจะกล่าว. เพราะเหตุนั้น พวกมนุษย์ผู้มีจิตเลื่อมใส
จึงได้นำเอาลาภและสักการะเป็นอันมาก เช่นจีวรเป็นต้น ไปถวายแก่พระเถระ
ทั้งหลาย. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะทั้งหลายจึงกล่าวว่า ลาภิโน
โหนฺติ จีวร ฯปฯ ปริกฺขารํ
ดังนี้.
สองบทว่า ภิกฺขุนิโย อุปสงฺกมิตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า บรรดา
นางภิกษุณีเหล่านั้น แม้ภิกษุณีรูปหนึ่งก็ไม่มาในสำนักของภิกษุฉัพพัคคีย์
เหล่านั้น, แต่พ่วกภิกษุฉัพพัคคีย์ผู้มีใจอันตัณหาในลาภฉุดลากไปเนือง ๆ ได้
ไปสู่สำนักแห่งนางภิกษุณีเหล่านั้น . พระธรรมสังคาหกะทั้งหลาย หมายถึงการ
ไปสู่สำนักภิกษุณีแห่งภิกษุฉัพพัคคีย์นั้น จึงได้กล่าวคำว่า ภิกฺขุนิโย อุปสงฺ-
กมิตฺวา
ดังนี้. แม้ภิกษุณีเหล่านั้น ได้กระทำตามถ้อยคำแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์
* บาลี เป็นโอวาทวรรค.

นั้นนั่นเทียว เพราะเป็นผู้มีจิตคลอนแคลน. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกะ
ทั้งหลาย จึงกล่าวคำว่า อถฺโข ตา ภิกฺขุนิโย ฯเปฯ นิสีทึสุ ดังนี้
บทว่า ติรจฺฉานกถํ ได้แก่ ถ้อยคำที่ไร้ประโยชน์มีมากอย่าง มี
ราชกถาเป็นต้นอันเป็นการขัดขวางแม้ในการไปสู่ทางสวรรค์.
บทว่า อิทฺโร แปลว่า สำเร็จแล้ว. อธิบายว่า มีประโยชน์ลึกซึ้ง
มีรสมาก ประกอบด้วยลักษณปฏิเวธ.
ในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เพราะภิกษุ
ฉัพพัคคีย์เหล่านั้น เมื่อถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธออย่ากล่าวสอนภิกษุณีทั้งหลาย ดังนี้ จะพึงผูกอาฆาตในพระตถาคตเจ้า
แล้ว เป็นผู้เข้าถึงอบาย เพราะเป็นผู้ยังไม่เห็นสัจจะ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เมื่อจะทรงหลีกเลี่ยงความเป็นผู้เข้าถึงอบายนั้นแห่งภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น
ทรงประสงค์จะกัน ภิกษุฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ไว้ภายนอกจากการกล่าวสอนภิกษุณี
โดยอุบายอย่างอื่นนั่นเอง จึงทรงอนุญาตภิกขุโนวาทสมมตินี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต (ภิกขุโนวาทสมมติ) เพราะมีพระ-
ประสงค์จะกันภิกษุเหล่านั้น ไว้ภายนอกในสิกขาบทนี้อย่างนี้ เมื่อจะทรงทำต่อไป
ข้างหน้า จึงตรัสดำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว อฏฺฐหงฺเคหิ สมนฺนาคตํ
เป็นต้น . จริงอยู่ องค์ 8 เหล่านี้ ยังไม่เคยมีแก่พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แม้แต่
ความฝันแล.

[อธิบายองค์ 8 ของภิกษุผู้กล่าวสอนภิกษุณี]


บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในบทว่า สีลวา นั้นว่า ศีลของภิกษุนั้น
มีอยู่ เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่าผู้มีศีล. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง
แสดงศีลที่มีอยู่ และประการที่ศีลนั้นมีแก่ภิกษุนั้นอย่างไรจึงชื่อว่ามีอยู่ จึงได้
ตรัสคำว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุโต เป็นต้น.